การปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้นหมายถึงขั้นตอนการประเมินอาการและระบุการช่วยเหลือให้แก่คนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความผิดปกติทางร่างกายจากการอาหารติดคอ หัวใจวาย ช็อคเพราะภูมิแพ้ ใช้ยา หรืออาการฉุกเฉินอื่นๆ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะทำให้เราสามารถระบุสภาพของผู้ได้รับบาดเจ็บได้อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้อง อย่างไรก็ตามควรให้ผู้มีความรู้ด้านการแพทย์ช่วยเหลือทันทีที่ทำได้ แต่การทำตามการปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างความเป็นกับความตายได้เลย
1 ตรวจสอบสภาพแวดล้อม. ประเมินสถานการณ์ มีสิ่งที่จะทำให้เราเกิดอันตรายไหม เราหรือผู้เคราะห์ร้ายนั้นจะเป็นอันตรายโดยไฟไหม้ ควันหรือแก๊สพิษ อาคารที่ไม่แข็งแรง สายไฟเปลือย หรือสถานการณ์ล่อแหลมอื่นๆ หรือไม่ อย่ารีบร้อนเข้าไปในพื้นที่ที่เราอาจจะกลายเป็นผู้เคราะห์ร้ายเสียเอง
2 ติดต่อขอความช่วยเหลือ. โทรหาเจ้าหน้าที่หรือหน่วยบริการฉุกเฉินทันทีหากพบผู้ที่บาดเจ็บสาหัส หากเราเป็นคนเดียวที่อยู่ในเหตุการณ์ พยายามตรวจลมหายใจของผู้เคราะห์ร้ายก่อนโทรขอความช่วยเหลือ อย่าทิ้งผู้เคราะห์ร้ายไว้คนเดียวเป็นเวลานาน
3 ตรวจดูแลผู้ป่วย. การดูแลผู้ที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์รุนแรงมานั้นมีทั้งการรักษาทางกายและการดูแลทางจิตใจ จำไว้ว่าต้องใจเย็นๆ และพยายามให้กำลังใจ ให้ผู้เคราะห์ร้ายรู้ว่าความช่วยเหลือกำลังมา และจะต้องไม่เป็นอะไร
1 ตรวจดูการตอบสนอง. หากผู้ป่วยหมดสติ พยายามปลุกด้วยการสะกิดที่มือและเท้าเบาๆ หรือลองพูดกับพวกเขา หากไม่มีการตอบสนองใดๆ กับการสัมผัส เสียง หรือการกระตุ้นอื่นๆ ให้ตรวจสอบลมหายใจ
2 ตรวจลมหายใจและชีพจร. หากผู้ป่วยหมดสติและไม่สามารถปลุกให้ฟื้นได้ ให้ตรวจสอบลมหายใจ สังเกตการขยับขึ้นลงของหน้าอก ฟังเสียงลมหายใจเข้าออก และสัมผัสอาการด้วยใบหน้าด้านข้างของเรา หากไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงลมหายใจ ให้หาชีพจร
3 หากผู้ป่วยยังคงไม่ตอบสนอง เตรียมทำการปั๊มหัวใจ. เว้นแต่เราคาดว่าอาจเกิดอาการบาดเจ็บที่กระดูกซี่โครง ให้ค่อยๆ พลิกตัวผู้ป่วยให้นอนหงายและเปิดช่องทางหายใจ หากผู้ป่วยเริ่มอาเจียน ให้พลิกตัวนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
4 ปั๊มหัวใจ 30 ครั้ง และเป่าปาก 2 ครั้งในการปั๊มหัวใจ. ตรงกลางระหว่างอก ต่ำลงไปใต้เส้นสมมติของหัวนม ให้ใช้มือสองข้างประกบทับกันและกดลงประมาณ 2 นิ้ว (5.1 ซ.ม.) ในอัตรา 100 ครั้งต่อนาที หลังจากการปั๊ม 30 ครั้ง ให้เป่าปาก 2 ครั้ง และตรวจดูชีพจร หากทางเดินหายใจถูกอุดตัน ให้ปรับตำแหน่งทางเดินหายใจ ให้แน่ใจว่าศีรษะเงยขึ้นเล็กน้อยและลิ้นไม่จุกปาก ทำการปั๊ม 30 ครั้ง สลับกับเป่าปาก 2 ครั้ง เวียนอยู่อย่างนี้จนกระทั่งมีคนมาช่วย
5 จำกฎ ABC ในการปั๊มหัวใจ. กฎ ABC หมายถึงข้อสำคัญ 3 ข้อที่ควรคำนึงถึง ตรวจสอบ 3 สิ่งนี้บ่อยๆ ในขณะที่ปั๊มหัวใจ Check these three things frequently as you give the person first aid CPR.
6 ให้แน่ใจว่าผู้ป่วยอบอุ่นดีในขณะที่รอความช่วยเหลือ. คลุมผ้าขนหนูหรือผ้าห่มบนตัวผู้ป่วยหากมี หรืออาจถอดเสื้อผ้าของเราบางชิ้นออกให้ (อย่างเช่น เสื้อโค้ทหรือเสื้อแจ็คเก็ต) และใช้คลุมจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยเป็นไข้แดด ห้ามห่มผ้าหรือให้ความอบอุ่นเด็ดขาด พยายามทำให้ร่างกายเย็นลงด้วยการพัดและเช็ดตัวแทน
7 ใส่ใจกับข้อห้ามต่างๆ. ในฐานะผู้ปฐมพยาบาล ให้แน่ใจว่าไม่ได้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำดังต่อไปนี้
8 ห้ามให้อาหารหรือน้ำแก่ผู้ป่วยหมดสติ นี่อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักและหายใจไม่ออก
1 ป้องกันตัวเองการจากการติดเชื้อต่างๆ. การติดเชื้อนั้นอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยก่อให้เกิดอาการป่วยและเป็นโรค หากมีชุดปฐมพยาบาล ควรฆ่าเชื้อที่มือก่อนแล้วใส่ถุงมืออนามัย หากไม่มีแอลกฮอล์ฆ่าเชื้อหรือถุงมือให้ปกป้องมือของเราด้วยผ้ากอซหรือสำลีหนาๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดจากผู้อื่นโดยตรง หากเผลอสัมผัสไปแล้ว ให้ทำความสะอาดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่เหลืออยู่ให้หมด
2 หยุดเลือดก่อนเป็นอันดับแรก. หลังจากพิจารณาแล้วว่าเหยื่อยังหายใจและมีชีพจร สิ่งสำคัญอันดับต่อมาคือการหยุดเลือด การหยุดเลือดนั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำได้เพื่อช่วยชีวิตเหยื่อจากอุบัติเหตุ ใช้แรงกดโดยตรงบนแผลก่อนจะลองใช้วิธีอื่นๆ เพื่อหยุดเลือด
3 ต่อมาจึงพยาบาลอาการช็อค. อาการช็อคมักลดอัตราการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และมักก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจได้ ผู้ที่กำลังช็อคมักจะตัวเย็น แข็งเกร็ง ตื่นตระหนก หรือมีอาการทางประสาทอื่นๆ และผิวซีดลงบริเวณหน้าและปาก หากไม่ได้รับการพยาบาลอาจถึงตายได้ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เฉียดตายเสี่ยงที่จะเกิดอาการช็อคได้
4 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับกระดูกหัก. กระดูกหักสามารถพยาบาลได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้:
5 ช่วยเหลืออาการอาหารติดคอ. อาหารติดคอสามารถทำให้ตายได้หรือเกิดความเสียหายถาวรต่อสมองภายในไม่กี่นาที อ่านบทความนี้สามารถช่วยให้เราช่วยผู้ป่วยได้ ซึ่งจะสามารถใช้ได้กับทั้งผู้ใหญ่และเด็ก
6 เรียนรู้การดูแลแผลไหม้. พยาบาลแผลไหม้ระดับ 1 และ 2 ด้วยการแช่หรือพรมด้วยน้ำเย็น (ห้ามใช้น้ำแข็ง) อย่าใช้ครีม เนย หรือน้ำมันอื่นๆ และอย่าเจาะแผลพุพอง แผลไหม้ระดับ 3 ควรคลุมไว้ด้วยผ้าเปียก ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับออกจากบริเวณนั้น แต่ห้ามลองดึงเสื้อผ้าที่ติดอยู่กับแผลไหม้เด็ดขาด
7 ตรวจดูความมีสติ. หากผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ มองหาอาการกระทบกระเทือนทางสมอง ซึ่งมีอาการทั่วไปดังนี้:
8 พยาบาลผู้บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง. หากสงสัยว่าจะมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง สำคัญมากที่จะต้องไม่ขยับศีรษะ คอ หรือหลังของผู้บาดเจ็บ เว้นแต่ว่าตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายร้ายแรง และต้องใส่ใจเป็นพิเศษหากต้องทำการปั๊๊มหัวใจ
1 ช่วยเหลือคนที่กำลังชัก. อาการชักมักดูน่ากลัวสำหรับคนที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน โชคดีที่การช่วยเหลือผู้ป่วยชักนั้นมีขั้นตอนชัดเจน
2 ช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจวาย. มันช่วยได้หากเรารู้อาการของหัวใจวายซึ่งมีทั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บปวดที่หน้าอก ไม่สบายตัวหรือคลื่นไส้ รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีและให้ยาแอสไพรินหรือไนโตรไกลเซอรีนที่ผู้ป่วยควรเคี้ยวมัน
3 เช็คคนที่เป็นอัมพาตหรือหมดสติ. เช่นข้อที่แล้ว การรู้อาการของอัมพาตนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการพูดไม่ได้หรือไม่เข้าใจบทสนทนา มึนงง เสียการทรงตัว หรือวิงเวียน และปวดหัวหนักโดยไม่มีสาเหตุและอื่นๆ เร่งพาผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีอาการดังกล่าวนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
4 พยาบาลผู้โดนพิษ. การได้รับพิษอาจเกิดจากพิษในธรรมชาติ (เช่น งูกัด) หรือส่วนผสมทางเคมี หากคาดว่าสัตว์เป็นตัวการของพิษ พยายามฆ่ามัน (อย่างปลอดภัย) เก็บใส่ถุง และนำไปยังศูนย์ควบคุมพิษ
แชร์บอกให้เพื่อนคุณรู้