ช้อปปิ้ง

ซื้อบ้าน VS ซื้อรถ ซื้ออะไรก่อนดี ?

โดย: Phairin Putaladkham
27 กรกฎาคม 2560 เวลา 23:38 ผู้เข้าชม: 422
0
0
0

ก่อนตัดสินใจซื้ออะไร ต้องคิดไว้ว่าภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 30% ของรายได้ เพื่อจะได้ไม่มีภาระหนี้ที่สูงเกินไป

         รถก็อยากมี บ้านก็อยากได้  ...  แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถซื้อทรัพย์สินชิ้นใหญ่อย่างบ้านหรือรถได้พร้อม ๆ  กัน ยิ่งเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานด้วยแล้ว  อาจจะต้องจัดลำดับความสำคัญกันสักหน่อยว่าจะซื้อบ้านหรือรถก่อนดี ซึ่ง K-Expert  แนะนำว่าควรดูที่ความจำเป็นเป็นหลัก อย่าเพิ่งใช้อารมณ์ตัดสินว่า  เห็นเพื่อนมีรถ มีคอนโดฯ แล้วก็อยากมีบ้าง เพราะบางทีแล้ว รถที่เพื่อนขับ  คอนโดฯ ที่เพื่อนอยู่ อาจไม่ได้เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองทั้งหมด  แต่อาจมีครอบครัวซื้อให้ หรือช่วยออกเงินบางส่วนก็ได้ 

          ดังนั้น  ทางที่ดีจึงไม่ควรรีบร้อนตัดสินใจซื้อสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง อย่างบ้าน  หรือรถ ที่ทำให้ตัวเราต้องเป็นหนี้ไปอีกหลายปี มาดูก่อนว่า  ตัวเราเองจำเป็นแค่ไหนที่ต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่ถึงหลักแสนหลักล้าน


          สำหรับคนที่ต้องเช่าบ้านหรือคอนโดฯ  อยู่ แล้ววางแผนทำงานใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ อีกนาน  การซื้อบ้านหรือคอนโดฯ  เป็นของตัวเองก็ดูจำเป็น เพราะเงินที่จ่ายเป็นค่าเช่าบ้านหรือคอนโดฯ  สามารถผันมาเป็นค่าผ่อนรายเดือนที่ทำให้เรามีทรัพย์สินเป็นของตัวเองในอนาคต  และโดยทั่วไปแล้ว มูลค่าบ้านและคอนโดฯ มักปรับเพิ่มขึ้น  หากอนาคตไม่ได้อยู่บ้านหรือคอนโดฯ นี้แล้ว ก็สามารถขายบ้านหรือคอนโดฯ  นี้ได้ หรือหากคอนโดฯ อยู่ในทำเลดี  ก็สามารถปล่อยเช่าสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง  


          แต่สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับครอบครัว  แต่บ้านไกลจากที่ทำงานมาก เดินทางด้วยรถสาธารณะไม่สะดวก  หรือต้องโดยสารรถหลายต่อกว่าจะถึงที่ทำงาน การซื้อรถก็อาจเหมาะกว่า  เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก หรือช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางมากขึ้น  หรือถ้าเป็นผู้หญิง แล้วต้องเดินเข้าซอยเวลากลับบ้านช่วงเย็นหรือกลางคืน  การซื้อรถขับก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น


          จะเห็นได้ว่าจริง  ๆ แล้ว ไม่มีคำตอบตายตัวว่า คนเราควรซื้อบ้านก่อนรถ  หรือซื้อรถก่อนบ้าน  เพราะความจำเป็นของคนเราไม่เหมือนกัน ดังนั้น  คนที่จะรู้ว่าควรซื้อบ้านหรือรถก่อน ก็คือตัวเรานั่นเอง  แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจซื้อบ้าน หรือซื้อรถ  สิ่งสำคัญคือต้องมั่นใจว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้หรือไม่ 

ผู้สนับสนุน

          โดยทั่วไป  การขอสินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน  40-60% ของรายได้ ซึ่งสัดส่วนภาระหนี้ที่สามารถมีได้นั้น  ขึ้นอยู่กับรายได้ต่อเดือน ยิ่งรายได้สูง  ก็สามารถมีสัดส่วนหนี้ต่อเดือนได้สูง ทั้งนี้ K-Expert แนะนำว่า  ภาระผ่อนหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 30% ของรายได้  เพราะถ้ามีสัดส่วนหนี้ต่อเดือนที่สูงเกินไป  อาจสร้างปัญหาการเงินตามมาในอนาคตได้ รวมถึงเมื่อซื้อบ้าน หรือซื้อรถแล้ว  นอกจากค่าผ่อนที่ต้องจ่ายทุกเดือน ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  ตามมาทำให้เราต้องกันเงินไว้อีกส่วนหนึ่งด้วย อย่างบ้าน จะมีค่าประกัน  ค่าส่วนกลาง ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าตกแต่งซ่อมแซมห้อง หรือรถ ก็จะมีค่าน้ำมัน  ค่าทางด่วน ค่าพ.ร.บ. ค่าประกัน ค่าที่จอดรถ ค่าซ่อมแซมรถ


          ยกตัวอย่างเช่น  ตัดสินใจเลือกซื้อบ้านก่อน หากรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาท  โดยเลือกว่าจะผ่อนหนี้แต่ละเดือนไม่เกิน 30%  เท่ากับว่าสามารถผ่อนได้เท่ากับ 30% x 30,000 = 9,000 บาท  (คิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่ขอได้จะประมาณ 1.0-1.2 ล้านบาท)  เมื่อรวมค่าใช้จ่ายหลัก ๆ อย่างค่าส่วนกลางเดือนละ 1,000 บาท ค่าน้ำไฟอีก  1,000 บาท รวมแล้วเดือนๆ หนึ่งก็ตกประมาณ 11,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนก็เกือบ  ๆ 40% ของรายได้ต่อเดือนแล้ว 


          แต่หากเลือกซื้อรถก่อน รถราคาประมาณ 6  แสนบาท ผ่อน 5 ปี จะผ่อนประมาณเดือนละ 11,000-12,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ  ที่ตามมาแน่ ๆ คือ ค่าน้ำมัน ถ้าไม่ได้ใช้รถมากมายอะไร หลัก ๆ  ใช้ขับรถไปกลับบ้านและที่ทำงาน จะอยู่ที่เดือนละ 3,000-4,000 บาท  รวมแล้วจะมีค่าใช้จ่ายจากการซื้อรถเดือนละ 14,000-16,000 บาท

พร้อมดาวน์แค่ไหน

          โดยทั่วไป  การขอสินเชื่อบ้านหรือรถ จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน  จะกำหนดวงเงินกู้สูงสุดไว้ เช่น บ้านสามารถกู้ได้สูงสุด 80-95% ของราคาบ้าน  หรือรถสามารถกู้ได้สูงสุด 75-85% ของราคารถ  ทำให้ต้องเตรียมเงินดาวน์ไว้อีกก้อนหนึ่ง ดังนั้น  ก่อนตัดสินใจเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ต้องสำรวจความพร้อมเรื่องเงินดาวน์เสียก่อน 


          สมมติ  ซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท ควรมีเงินดาวน์สัก 4 แสนบาท  ถ้าวางแผนว่าจะซื้อบ้านในอีก 2 ปีข้างหน้า เท่ากับว่า ควรออมเงินเดือนละ  16,000-17,000 บาท  แต่หากเงินที่ต้องออมต่อเดือนสูงเกินกำลังความสามารถในการออม  ก็อาจต้องเลื่อนเป้าหมายการขอสินเชื่อออกไปก่อน เช่น เลื่อนการกู้บ้านจาก 2  ปี เป็น 3 ปี เพื่อให้มีเวลาเก็บออมเงินดาวน์นานขึ้น หรือลดขนาดเป้าหมายลง  เช่น ซื้อบ้านหลังเล็กลงมาหน่อยจาก 2 ล้านบาทเหลือ 1.5 ล้านบาท  เพื่อให้จำนวนเงินออมต่อเดือนลดลงอยู่ในความสามารถที่ออมได้  หรืออีกวิธีหนึ่งคือ เลือกบ้านหรือคอนโดฯ ที่กำลังก่อสร้าง  ซึ่งเราสามารถผ่อนดาวน์ในช่วงนี้ได้โดยไม่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่


          ทั้งนี้  ในบางช่วง  ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีการออกแคมเปญหรือโปรโมชั่นให้ดาวน์น้อย ๆ  หรือไม่ต้องวางเงินดาวน์เลย ก็ยื่นกู้ได้ เรียกว่าเป็นทางเลือกให้กับหลาย ๆ  คนที่อยากมีบ้าน หรือมีรถเป็นของตัวเอง แต่แนะนำว่า  ถ้าสามารถวางเงินดาวน์ได้มาก ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้ขอวงเงินสินเชื่อน้อยลง  ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็น้อยลง และที่สำคัญหมดหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย


          ก่อนตัดสินใจซื้อทรัพย์สินอย่างบ้าน  หรือรถให้กับตัวเอง สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ ความจำเป็น  รวมไปถึงความพร้อม เพราะการซื้อบ้านสักหลังหรือรถสักคัน  มีข้อผูกมัดที่ต้องผ่อนชำระหนี้เป็นเวลาหลายปี จึงต้องคิดให้รอบคอบว่า  เงินดาวน์พอไหม และผ่อนไหวแค่ไหน  เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาการเงินตามมาในอนาคต  


K-Expert Action

          • พิจารณาให้รอบด้านถึงความจำเป็น และความพร้อมทางการเงิน ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านหรือรถ

          • เตรียมเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะตามมาหลังจากซื้อบ้าน ซื้อรถ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://img.kapook.com/image/Logo/K-Expert.jpg"border="0">

แชร์บอกให้เพื่อนคุณรู้

คอมเม้น

0 คอมเม้น
Other Review by Phairin Putaladkham

กฎการรีวิว

People who love what they do help
you get everything done at an
unbeatable value.

รีวิวโดยทีมงาน RP

What do you do best? Create your
Gig and start selling. It’s free, and
only takes 5 minutes.

ร่วมกิจกรรม

Your safety is our top priority. Secure
transactions and our safety team
protect you at all times.
เข้าสู่
ระบบ
เขียน
รีวิว
รีวิว
อัพเดท
Top 10
รีวิว
TOP
ติดต่อทีมงานเพื่อ
แนะนำรีวิวน่าสนใจ
https://reviewpromote.com/post/307/%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-vs-%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%96-%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B5