เที่ยวเมืองรองรับรองจะติดใจ สิงห์บุรีเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนสุโขทัย บางครั้งเราอาจจะมองข้ามเสน่ห์ของจังหวัดนี้ที่แอบซ่อนอยู่ ถ้าพูดถึง จังหวัดสิงห์บุรีเมืองอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยด้วยเรื่องราววีรกรรมการสู้รบ ของชาวบ้านบางระจัน เสน่ห์ของเมืองสิงห์บุรี คือ การตั้งชื่อถนนในเมืองเป็นชื่อวีรชนบ้านบางระจัน เช่น ถนนนายแท่น ถนนนายดอก ถนนนายอิน ถนนนายเมือง ถนนขุนสรรค์ เป็นต้น และนอกจากนี้จังหวัดสิงห์บุรียังเป็นเมืองที่มีวัดมากมายทั้งเก่าและใหม่ ต่างยุคกัน
Cr : thaifest.tourismthailand
1. วัดพิกุลทอง
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อยฝั่งตะวันออกห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีประมาณ 16 กม.เป็นวัดขนาดใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของสิงห์บุรีชาวบ้านเรียกว่า วัดหลวงพ่อ เนื่องด้วยเป็นวัดจำพรรษาของหลวงพ่อแพแพ (พระเทพสิงหบุราจารย์) พระเกจิดัง ซึ่งมรณภาพเมื่อพ.ศ.2542 ภายในวัดมี พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อแพ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติและเครื่องอัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นอีกด้านหนึ่งของวัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 11 วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง 21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว ภายในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกทองคำธรรมชาติชนิด 24 เค รอบๆพระวิหารใหญ่มีวิหารคต ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำวันต่าง ๆ และพระสังกัจจายองค์ใหญ่ และบริเวณวัดยังมีสวนธรรมะ และสิ่งก่อสร้างที่สวยงามน่าสนใจ แวดล้อมด้วยบรรยากาศสงบร่มรื่น การเดินทาง จากตัวเมืองสิงห์บุรีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3032 ไปทาง อ.ค่ายบางระจัน ผ่านวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ไปราว 5 กม. จะมีถนนเลียบคลองชลประทานทางซ้ายมือเลี้ยวเข้าไปตามทาง กระทั่งผ่านวัดวิหารขาว ไปราว 1 กม.ก็จะถึงวัดพิกุลทอง
พระประธานวัดพิกุลทอง เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กประดิษฐานบนฐานที่สูงหลายชั้นเพื่อให้เหมาะกับขนาดของอุโบสถ เราจะเห็นองค์พระประธานเล็กมาก พระพุทธรูปองค์นี้มีพระนามว่า พระพุทธศรีวิริยโสภิต หลวงพ่อสี เกสโร พระอาจารย์ด้านวิทยาคมของหลวงพ่อแพ ได้สร้างถวายแก่หลวงพ่อแพ หุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อแพ อยู่ในพิพิธภัณฑ์มีพวงมาลาพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ ด้านหน้าของอาคารจัดวางเก้าอี้เรียงแถวจำนวนมาก สำหรับประชาชนที่เดินทางมากราบสักการะนมัสการหลวงพ่อแพ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 3 93 ตำบล พิกุลทอง อำเภอ ท่าช้าง สิงห์บุรี 16140
เวลาเปิด-ปิด : 08:00 - 18:00 น.
โทร : 089-074-6001
WEDSITE : -
FB : -
GPRS : https://goo.gl/maps/Y1T5iUTTudJx8vSMA
Cr : edtguide
2. ตลาดไทย้อนยุคบ้านระจัน
ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน ตั้งอยู่ภายในวัดโพธิ์เก้าต้น ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นวัดที่สำคัญ จะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาไหว้พระทำบุญไม่ขาดสาย และเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ท่องเที่ยวอย่างครบรส ทั้งไหว้พระทำบุญ กิน และช้อปปิ้ง อีกทั้งยังต้องการส่งเสริมรายได้ให้กับชาวบ้าน ทางชุมชนจึงได้มีการจัดตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจันขึ้น ตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน ถูกจัดขึ้นบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ภายในวัด บรรยากาศจึงร่มรื่นน่าเที่ยวชม มีการจัดแต่งซุ้มจำหน่ายสินค้าด้วยวัสดุธรรมชาติในรูปแบบพื้นบ้าน ให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลาย ชาวบ้านจะแต่งตัวย้อนยุคมานั่งจำหน่ายสินค้า พูดจาขอรับ/เจ้าค่ะ พาให้บรรยากาศยิ่งคล้ายกับตลาดในยุคโบราณ สินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่ายก็จะเป็นอาหารท้องถิ่น ขนมโบราณที่หาทานยาก ผลิตภัณฑ์ทำมือ รวมไปถึงพืชผักและผลไม้สด ๆ จากไร่ของชาวบ้าน ซึ่งจะเริ่มขายกันในราคาเพียงแค่หลักสิบเท่านั้น อีกทั้งยังมีการแสดงการแสดงต่างๆเช่น การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงเพลงฉ่อย การแสดงวีรกรรมชาวบ้านบางระจัน จากเด็กๆ ในชุมชน อีกด้วย และถ้าใครอยากจะมาเที่ยวให้อินกับบรรยากาศมากขึ้น ก็สามารถที่จะแต่งกายด้วยชุดไทยย้อนยุคมาเที่ยวกันได้จากบ้านเลยค่ะ หรือจะมาเช่าชุดไทยย้อนยุคได้จากที่นี่ก็ได้
ที่อยู่ : ทางหลวงหมายเลข 3032 ตำบล บางระจัน อำเภอ ค่ายบางระจัน สิงห์บุรี 16150
เวลาเปิด-ปิด : 09.00-16.30 น.
โทร : 091-765-6566
WEDSITE : -
FB : Taladthai yonyuk banrachan
GPRS : https://goo.gl/maps/b5W3ZmrEDrhBZb8Y8
Cr : smcbt
3. วัดหน้าพระธาตุ
วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จ.สิงห์บุรี อยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ ว่าวัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐานว่า สถานที่ บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ 8 วา ทำเป็นรูปครุฑอสูรถือกระบองประดับ อยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยการก่ออิฐเพิ่มเติมเป็นซุ้มจรนัมทั้งสี่ด้าน ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐ ย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 บริเวณหน้าทางเข้าประดิษฐานหลวงพ่อทันใจซึ่ง กำลังอยู่ในระหว่าง ก่อสร้างพระอุโบสถ
ที่อยู่ : ตำบล จักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี สิงห์บุรี 16000
เวลาเปิด-ปิด : 08:00 - 18:00 น.
WEDSITE : -
FB : -
GPRS : https://goo.gl/maps/JeZQTMXk7dY7j9M47
Cr : thai.tourismthailand
4. วัดไทร
"วัดไทร" โดยมีชื่อเดิมว่า "วัดทะยาน" มีข้อมูลในอดีตที่ชาวบ้านเล่าขานมาว่า เคยมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาพบวัดร้างและเห็นว่าบริเวณโดยรอบมีต้นไทรขึ้นอยู่หนาแน่น จึงบอกชาวบ้านให้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดไทรเหมือนในปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการคาดการณ์ว่าวัดนี้คาดว่าถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับลักษณะพิเศษของโบสถ์วัดโทร คือเป็นวัดที่มีรากต้นไทรโอบยึดกำแพงโบสถ์ไว้ไม่ให้พังทลายลงมา ซึ่งส่วนของศาลาวัดได้พังลงน้ำไปแล้ว ภายในเป็นสถานที่ประดิษฐานองค์พระประธาน โดยแต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า "หลวงพ่อขาว" หรือ "หลวงพ่อทะยาน" แต่ในปัจจุบันเรียกว่า "หลวงพ่อวัดไทร" ตามชื่อของวัดไทร โดยมีตำนานเล่าเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่า แรกเริ่มเดิมทีองค์พระประธานเป็นหุ่นปูนหุ้มแผง ต่อมาถูกทหารพม่าสุ่มไฟหลอมลอกเอาทองไปหมดเหลือแต่หุ่นปูนข้างใน รวมไปถึงองค์พระพุทธรูปยังถูกตัดเศียรไปอีกด้วย ภายหลังต่อมาชาวบ้านจังได้เรี่ยไรกันเพื่อนำเงินมาบูรณะต่อเศียรพระพุทธรูปที่ประดิษฐานองค์พระ ส่วนเป็นโบสถ์เก่าชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์มหาอุต คือเป็นโบสถ์ที่มีประตูเข้า-ออกทางเดียว
ที่อยู่ : ตำบล ชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี สิงห์บุรี 16110
โทร : 097-245-5932
WEDSITE : -
FB : -
GPRS : https://goo.gl/maps/Q5zzCzhyyUCHvFAj6
Cr : daratham
5. อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน
อนุสาวรีย์วีรชนและอุทยานค่ายบางระจัน สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่วีรชนบ้านบางระจันผู้ประกอบวีรกรรมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ โดยพม่าได้ยกทัพมาตีไทยและมีกองทัพส่วนหนึ่งเข้าตีหมู่บ้านบางระจัน แม้ว่าชาวบ้านบางระจันจะขาดแคลนอาวุธและมีกำลังน้อยกว่า แต่ก็ได้แสดงความกล้าหาญและความสามัคคียอมพลีชีวิตเพื่อประเทศชาติ จนได้รับการจารึกเพื่อเป็นเกียรติสืบมา อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน เป็นรูปหล่อประติมากรรมของหัวหน้าชาวค่ายบางระจันทั้ง ๑๑ คน ประกอบด้วย นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน สร้างขึ้นโดยกรมศิลปากร ตั้งอยู่กลางสวนอันร่มรื่น เพื่อระลึกถึงวีรชนบ้านบางระจันที่กล้าหาญ และเสียสละในการรวมพลังกันต่อสู่กับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้าตีหมู่บ้านบางระจันถึง ๘ ครั้ง ใช้เวลานานกว่า ๕ เดือนจึงเอาชนะได้
ที่อยู่ : ตำบล บางระจัน อำเภอ ค่ายบางระจัน สิงห์บุรี 16150
เวลาเปิด-ปิด : 09:00 - 18:45 น.
โทร : 087-589-4033
WEDSITE : -
FB : -
GPRS : https://goo.gl/maps/Ca1tJ6mJCBR88esE9
Cr : thaifest.tourismthailand
6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดโบสถ์ ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ "พระเทพสุทธิโมลี" (เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี-อุทัยธานี ฝ่ายธรรมยุต) ในขณะที่เป็นพระครูวิสุทธิธรรม ได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่มีคุณค่า ตั้งแต่ พ.ศ.2483 โดยดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการมีอดีตเจ้าอาวาสวัดฌบสถ์เป็นประธานบริหารงาน
ใน พ.ศ.2496 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการจัดตั้งเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำอำเภออินทร์บุรี ต่อมา พ.ศ.2504 คณะกรรมการพิพิธภัณฑสถาน ได้พิจารณาเห็นว่า อาคารไม้หลังเก่าไม่เพียงพอสำหรับจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีจำนวนมากขึ้น จึงได้รับบริจาคเงินก่อสร้างอาคารหลังใหม่จาก นางเพิ่ม ดุริยางกูร และตั้งชื่ออาคารว่า ตึกเพิ่ม ดุริยางกูร และปรับปรุงศาลาการเปรียญของวัดหลังเดิม คือ ศาลาศักดิ์บุรินทร์ เป็ฯอาคารจัดแสดงอีกหลังหนึ่ง
ต่อมา พ.ศ.2514 อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ เมื่อครั้งมีสมศักดิ์เป็นพระราชเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี ได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนกรมศิลปากรในการดำเนินงานปรับปรุงการจัดแสดงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และในปี พ.ศ.2516 สาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี
ที่อยู่ : วัดโบสถ์(พระอารามหลวง) ถนนเทพสุทธิโมลี ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110
เวลาเปิด-ปิด : วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. (ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
โทร : 036-581 986
WEDSITE : www.museumthailand.com
FB : -
GPRS : https://goo.gl/maps/QSwdYBofiDhusG956
Cr : thaitimeonline
7. วัดอัมพวัน
วัดอัมพวัน ถือเป็นวัดอันดับต้น ๆ ที่มีประชาชนเดินทางไปปฏิบัติธรรม เนื่องจากวัดแห่งนี้ยึดหลักปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน 4 แม้วันนี้หลวงพ่อจรัญจะมรณภาพไปแล้ว แต่ยังมีพุทธศาสนิกชน เดินทางไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ความรู้สึกของประชาชนที่เลื่อมใสในหลักคำสอนของพระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าสามารถนำหลักในการปฏิบัติธรรมไปใช้ได้จริงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงทำให้ทุกวันนี้ วัดอัมพวัน เป็นวัดอันดับต้นๆของวัดปฏิบัติธรรม แบบวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกำหนดจิตภาวนาแนวสติปัฏฐาน 4 ซึ่งประกอบด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน และแม้วันนี้ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม จะมรณภาพแล้วแต่ยังคงมีประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาในหลักปฏิบัติเดินทางเข้ามาลงทะเบียน เพื่อขอรับเข้าปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยในแต่ละช่วงจะมีผู้ปฏิบัติไม่ต่ำกว่า 1,000 คน โดยมีพระอาจารย์ ผู้เป็นลูกศิษย์เป็นผู้ถ่ายทอด และ ชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติให้กับผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อในการให้ประชาชนมีสติ ตามหลักคำสอนของหลวงพ่อที่ว่า"เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า สติปัญญา เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิต" ดังนั้น แม้จะสิ้นหลวงพ่อแล้ว แต่ที่วัดแห่งนี้ยังคงไม่สิ้นแนวทางปฏิบัติของท่าน และ แนวทางนี้จะยังคงอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาต่อไป
ที่อยู่ : 53 หมู่ 4 ถนนเอเชีย ตำบล พรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี สิงห์บุรี 16160
เวลาเปิด-ปิด : 10:00 - 18:00 น.
โทร : 086-510598
WEDSITE : www.amphawan.net
FB : -
GPRS :https://goo.gl/maps/rjdcWrZeGFaNiVGV9
Cr : วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
ฝากติดตาม ReviewPromote #ReviewPromote #กินเก่ง #เที่ยวเก่ง
รายละเอียดแจ้งไว้ในบทความ
แชร์บอกให้เพื่อนคุณรู้